รับจดทะเบียนบริษัท.net
บริการของเรา
- รับจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Company Registration Service)
- รับทำบัญชี (Accounting Service) ด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Express ปิดงบรายเดือน รายปี ยื่นแบบเสียภาษี ส่งเงินสมทบประกันสังคม
- รับทำเงินเดือนค่าแรง (Payroll Outsouce Service) คำนวณเงินเดือน-ค่าแรง ค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน ค่ากะ ค่าพาหนะ อื่นๆ พิมพ์สลิป ส่งแผ่นธนาคาร ส่งแผ่นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่งแผ่นประกันสังคม
- รับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Auditing Service)
- รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดทะเบียนประกันสังคม
รายละเอียดบริการ จดทะเบียนบริษัท
- จองชื่อนิติบุคคล
- จดหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
- ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ปัจจุบันยกเลิกแล้วให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลแทน)
- ขอมีเลขที่บัญชีนายจ้างประกันสังคม (ขึ้นทะเบียนผ่านกระทรวงพาณิชย์)
- ลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทางอินเทอร์เน็ต (กรมสรรพากรจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบทาง e-mail และทางอินเทอร์เน็ตภายใน 15 วันนับจากวันที่ยื่นคำขอ)
- จัดทำรายงานการประชุมกรรมการเพื่อขอเปิดบัญชีธนาคาร
เอกสารและข้อมูลที่ต้องแจ้งสำนักงานบัญชี
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ร่วมก่อตั้งทุกคน (บริษัทอย่างน้อย 3 คน ห้างหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คน)
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งกิจการ และแผนที่ตั้งกิจการ
- วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง (ประกอบธุรกิจอะไร)
- กำหนดรูปแบบตรายาง
- รายชื่อกรรมการ และอำนาจกรรมการ (กำหนดอำนาจอนุมัติ เช่น เซ็นคนเดียว เซ็นร่วมกัน)
- จำนวนเงินลงทุน (แต่ละคนลงทุนคนละเท่าไหร่ จำนวนหุ้นที่ถือหรือจำนวนเงินที่ลง)
- แบบสอบถามจดทะเบียนบริษัท
- หรือ แบบสอบถามจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
i3tree.com บริการทำเว็บไซต์ที่มี บริการหลังการขายที่ดี ดูแลเว็บไซต์ให้ตลอดอายุการใช้งาน, เว็บโฮสติ้งคุณภาพสูง, ออกแบบทันสมัย รองรับมือถือ
ราคาเริ่มต้น 9,500 บาท รหัสส่วนลด 15% : CPNNT
นำรหัสส่วนลดไปกรอกในแบบฟอร์มติดต่อเพื่อรับส่วนลด
ข้อมูลน่ารู้
1.ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
มาดูกันตั้งแต่เริ่มแรกเลยนะครับ การเปิดบริษัทใหม่ การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอาจจะไม่ใช่เรื่องยากมากนัก เพียงแต่มีเอกสารที่ต้องจัดทำค่อนข้างมาก และปัจจุบันทางกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเปลี่ยนให้การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสามารถจดในวันเดียวกันได้ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้สั้นลง นอกจากนี้ยังลดจำนวนผู้เริ่มก่อการจาก 7 คนลดเหลือ 3 คน แต่ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเรื่องเอกสารที่ต้องจัดทำยังเหมือนเดิมทุกอย่าง เรามาดูขั้นตอนการจดทะเบียนกันนะครับ
- 1. คลิ๊ก ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด (ภายใน 1 วัน), ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัทจำกัด, เอกสารที่ต้องใช้, ค่าธรรมเนียม
- 2. คลิ๊ก ตัวอย่างการกรอกแบบพิมพ์ ได้แก่ คำขอจดทะเบียน (บอจ.1) หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3) รายละเอียดวัตถุประสงค์ (แบบ ว.1) กรรมการเข้าใหม่ (แบบ ก) รายชื่อผู้ิิเริ่มก่อการและเข้าชื่อซื้อหุ้น รายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ใบสำเนารับชำระเงินค่าหุ้น หนังสือรับรองการมีเงินฝากกับธนาคาร
- 3. คลิ๊ก ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัททางอินเตอร์เน็ต
- 4. คลิ๊ก หนังสือแจ้งการจดทะเบียนตั้งบริษัทภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551(ไม่อ่านก็ได้ ไม่จำเป็น)
ศึกษาขั้นตอนเรียบร้อยแล้วก็มาเริ่มจดทะเบียนบริษัทกันเลยนะครับ ลิงค์ด้านล่างนี้จะเป็นการจดทะเบียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
2.บัญชีที่ต้องจัดทำและการจัดทำงบการเงิน (กระทรวงพาณิชย์)
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
1.บัญชีรายวัน
- (ก) บัญชีเงินสด
- (ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร
- (ค) บัญชีรายวันซื้อ
- (ง) บัญชีรายวันขาย
- (จ) บัญชีรายวันทั่วไป
2.บัญชีแยกประเภท
- (ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน
- (ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
- (ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้
- (ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
3.บัญชีสินค้า
4.บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ
การจัดทำงบการเงิน
- จัดให้มีผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีปิดงบการเงินครั้งแรกภายใน 12 เดือน (เฉพาะปีแรกอาจปิดงบไม่ถึง 12 เดือนก็ได้ เช่น ถ้าจดทะเบียนวันที่ 18 สิงหาคม และต้องการปิดบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคมก็ได้ ปีแรกจะปิดบัญชีวันไหนก็ได้ แต่อย่าเกิน 12 เดือน) หลังจากนั้นให้ปิดบัญชีครั้งต่อไปทุกรอบ 12 เดือน
- จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือนนับจากวันปิดบัญชี เช่น ปิดงบการเงินวันที่ 31 ธันวาคม ก็ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบภายในวันที่ 30 เมษายน ปีถัดไปและหลังจากงบได้รับการอนุมัิติจากที่ประชุมแล้วก็ต้องนำไปยื่นกระทรวงพาณิชย์ภายใน 1 เดือน หรือภายในวันที่ 31 พฤษภาคม
3.การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย (กรมสรรพกร)
ถ้ายังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเลขทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถเขาไปจดทะเบียนที่กรมสรรพากรได้
- คลิ๊ก การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี บริษัทจำกัด ต้องใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์
- คลิ๊ก จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ารายได้ของบริษัทต่อปี ไม่ถึง 1,800,000 บาทไม่จดก็ได้ แต่แนะนำว่าถ้าเป็นบริษัทจำกัด ก็ควรจดไว้เลย
- คลิ๊ก จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือการเสียภาษีประจำปี
ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี โดยใช้แบบ ภงด.50 กำหนดเวลาในการยื่นแบบภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ถ้าปิดงบวันที่ 31 ธันวาคม จะต้องยื่นภายในวันที่ 29 พฤษภาคม (ในกรณีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) หรือต้องยื่นภายในวันที่ 30 พฤษภาคม (กรณีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน)
นอกจากนี้ยังต้องประมาณการเพื่อเสียภาษีครึ่งปี สำหรับงบที่มีรอบระยะเวลาบัญชี มค–ธค. รอบระยะเวลา 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน กำหนดยื่นภายใน 2 เดือน ต้องยื่นภายในวันที่ 31 สิงหาคม
ภาษีเิงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องยื่นประจำทุกเดือน
เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้สรรพากรภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน โดยเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70 สำหรับแบบที่ใช้ในการยื่น ได้แก่
- ภงด.1 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง
- ภงด.3 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ประเภทอื่นที่ที่จ่ายให้แก่บุคคลธรรมดา
- ภงด.53 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่จ่ายให้แก่บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ข้อมูลอ้างอิงและถ้าต้องการศึกษาเพิ่มเติม
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามคำสั่ง ทป.4/2548
- คำสั่งกรมสรรพากร ป.91/2542 เรื่องความรับผิดชอบเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70
- บทความหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จ่ายเงินได้ มี 9 ตอน
- เอกสารประกอบการสัมนาเรื่องหักภาษี ณ ที่จ่ายเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ธรรมดา
- สไลด์ประกอบการสัมมนาเรื่องหักภาษ ณ ที่จ่ายเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ธรรมดา
การยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ต้องยื่นประจำทุกเดือน
กำหนดยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน ไม่ว่าจะมีภาษีต้องเสียหรือไม่ก็ตาม ถ้าไม่มีภาษีต้องจ่่ายก็ให้ยื่นฟอร์มเปล่า อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
- เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องออกใบกำกับภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง
- เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องสร้างความมั่นใจในการลงรายงานภาษีซื้อภาษีขาย
4.ประกันสังคม
สำหรับกิจการที่มีูลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องยื่นขึ้นทะเบียนนายจ้าง ภายใน 30 วันนับจากที่มีลูกจ้าง และนำส่งเงินประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบนำส่ง สปส.1-10
เอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับการยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง
กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)
- สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
- สำเนา หรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
- แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
การยื่นขอขึ้นทะเบียนให้ใช้ แบบขึ้นทะเบียนทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มประกันสังคม
ผู้เขียน.. เกียรติชัย
เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ได้ออกเอกสาร “การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายในวันเดียว” ทำให้มีผู้ประกอบการหลายคนเข้าใจไปตามนั้น มีคนโทรมาถามว่าถ้าส่งเอกสาร (สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน) ให้วันนี้ พรุ่งนี้จดทะเบียนบริษัทได้เลยหรือเปล่า คำตอบก็คือ “ไม่ได้” หลายคนก็สงสัยว่าทำไมไม่ได้ ในเมื่อกระทรวงพาณิชย์บอกเองว่า สามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายใน 1 วันได้
เราลองมาดูคำอธิบายเพิ่มเติมกันนะครับ
แต่เดิมการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ต้องใช้เวลาในการจด 2 วัน (หรือ 2 ครั้ง) ครั้งแรก ต้องจดหนังสือบริคณห์สนธิก่อน หลังจากนั้นจึงออกหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน หลังการประชุมแล้ว จึงมาขอจดทะเบียนตั้งบริษัทในครั้งที่ 2 หรือรวมระยะเวลาในการจดห่างจากครั้งแรก รวมเป็น 8 วัน
ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้ยกเลิกการแยกจดหนังสือบริคณห์สนธิกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแล้ว โดยให้นำเอกสารทั้งสองส่วนที่แยกกันจด มาจดพร้อมกันในวันเดียว จึงกลายเป็นว่าสามารถจดทะเบียนบริษัทเสร็จภายใน 1 วัน ซึ่งหมายความว่า เมื่อเอกสารทุกอย่างจัดเตรียมพร้อมแล้วสามารถนำไปจดที่กระทรวงพาณิชย์ให้เสร็จได้ภายในวันเดียว (แต่เอกสารต้องถูกต้อง ครบถ้วนนะครับ)
ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทให้เสร็จภายในวันเดียว เรามาดูก่อนว่า ต้องทำยังไงบ้าง แล้วใช้เวลากี่วันกันแน่?
- จองชื่อนิติบุคคล (ชื่อบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด) เนื่องจากชื่อนิติบุคคลซ้ำกันไม่ได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีชื่อนิติบุคคลก่อน โดยตั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่งให้นายทะเบียนตรวจสอบก่อน (ยื่นขอทางอินเตอร์เน็ตก็ได้) ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเฉลี่ยแล้วประมาณ 2 วัน (บางทีก็มากกว่า 2 วัน) ถ้าชื่อที่ขอไม่ผ่าน ก็ต้องจองใหม่
- หลังจากได้ชื่อนิติบุคคลแล้วก็มาจัดเตรียมเอกสารรวมทั้งจัดทำตรายางขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 วัน
- ส่งเอกสารให้ผู้ประกอบการเซ็น (ผู้ถือหุ้นและกรรมการต้องเซ็นทุกคน) ขั้นตอนนี้ไม่แน่นอนบางทีก็ใช้เวลาวันเดียว บางทีก็ต้องทิ้งเอกสารไว้ 2-3 วันก็มี
- ไปจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์อีก 1 วัน
เพราะฉะนั้นเมื่อรวมทุกขั้นตอนแล้ว เร็วสุดก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 4 วันครับ
เรามาดูปัญหาที่พบบ่อยๆ ในการจดทะเบียนบริษัทที่ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนบริษัทได้ (นายทะเบียนปฏิเสธ) การจดทะเบียนเนื่องจากเหตุผลดังนี้
- ตรายางผิดใช้คำย่อหจก. บจก. หรือ ตัวอักษรเล็กมากแล้วใช้ตัวอักษรแบบพิเศษ เวลาปั๊มมาทำให้ตัวอักษรบางตัวเพี้ยนไป เช่น r s เวลาปั๊มมาจะเป็น เส้นตรง ฯลฯ
- บัตรประชาชนไม่ชัดภาพถ่ายดำมองไม่เห็นหน้าวันออกบัตรวันหมดอายุอ่านไม่ออก (ไม่รู้ว่าบัตรหมดอายุหรือยัง) หรือชื่อที่อยู่อ่านไม่ออก (ตรวจสอบที่อยู่ไม่ได้)
ผู้เขียน: เกียรติชัย
ทำไมต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหลายคนถามมา คำตอบก็คือ เป็นข้อกำหนดของกฎหมายครับ แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่เหมือนกันคือ กรณีเงินได้ทั้งปีน้อยกว่า 1.8 ล้าน จะจดหรือไม่จดก็ได้ครับ เหตุผลน่าจะมาจากธุรกิจขนาดเล็กจะได้ไม่ต้องมาวุ่นวายกับเรื่องนี้ เช่น หาบเร่ แผงลอย ต่างๆ ที่มีรายได้ไม่มาก ทั้งนี้กฎหมายยกเว้นให้ว่าไม่จดก็ได้ แต่ถ้าคุณอยากจะจดก็สามารถทำได้นะครับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ http://www.rd.go.th/publish/307.0.html
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมี 2 วิธี คือ จดทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต กับการไปจดด้วยตนเอง ทั้งสองวิธีแตกต่างกันเรื่องเดียวคือระยะเวลาในการรับจด กรณีไปยื่นจดด้วยตนเอง ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารทุกอย่างถูกต้องครบถ้วน เค้าจะรับจดให้ในวันที่ไปยื่นเลยคือจะเริ่มเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ วันนั้นเลย สำหรับคนที่จำเป็นต้องรีบเปิดใบกำกับภาษีก็มักเลือกวิธีนี้ แต่ถ้าไม่รีบ เราสามารถลงทะเบียจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งวิธีนี้จะทราบผลไม่เกิน 15 วันทำการ (อาจจะเร็วกว่านี้ อยู่ที่ว่าเจ้าหน้าที่ดำเนินเรื่องให้เร็วแค่ไหน แต่ไม่ช้าไปกว่านี้ครับ)
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเตอร์เน็ตให้เข้าไปที่ http://vsreg.rd.go.th/ เลือก
- บริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วกด ยืนยันการจดทะเบียน จะเข้าสู่หน้าจอให้เลือก สำหรับธุรกิจเปิดใหม่รายได้ยังไม่ถึง 1.8 ล้านต่อปี ให้เลือก
- กิจการที่ได้รับการยกเว้น แล้วให้เลือกข้อ 2 ประกอบกิจการโดยมีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (รายรับไม่เกิน 1,800,000 บาท) แล้วจึงกด
- ยืนยันการจดทะเบียน ก็จะเข้าสู่หน้าจอในกรอก เลขที่บัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เมื่อกรอกเสร็จแล้วก็จะให้กรอกข้อมูลบริษัทต่อไป ลองทำดูนะครับไม่ยาก
เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ยืนยันการจดไป จะได้รหัสมาเผื่ออยากจะแก้ไขข้อมูล โดยระบบอนุญาตให้แก้ไขข้อมูลได้ในวันยื่นไม่เกิน 5 โมงเย็น หลังจากนั้นแบบคำขอจะถูกส่งเข้ากระบวนการต่อไป
สำหรับปัญหาที่พบ เจ้าหน้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้ (ตามที่ลูกค้าเคยแจ้งมา) คือ ติดต่อผู้ประกอบการไม่ได้ (เผอิญลูกค้าไปต่างประเทศ) และเจ้าหน้าที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบว่ามีสถานประกอบการจริงหรือไม่ (ป้องกันการเปิดใบกำกับภาษีปลอม)
ถ้าทุกอย่างถูกต้องเรียบร้อยก็จะมี eMail หรือ จดหมายตอบรับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กลับไป โดยวันที่รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นวันที่เราขอไป ในระบบจะบังคับวันขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยบวก 15 วันให้อัตโนมัติ ไม่สามารถคีย์วันที่ขอน้อยกว่า 15 วัน ถ้าคีย์น้อยกว่า ระบบจะแจ้งเตือนและให้เรากลับไปแก้วันที่ใหม่
สำหรับแบบ ภพ.20 ต้นฉบับที่เป็นลายน้ำ จะถูกจัดพิมพ์ที่สรรพากรสำนักงานใหญ่ แล้วจัดส่งให้ผู้ประกอบการระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 1-2 เดือน (เมื่อก่อนกว่าจะได้ตัวจริงใช้เวลาประมาณ 6 เดือน)
ผู้เขียน : เกียรติชัย
บทความ
บทความใหม่ที่อาจจะเป็นโยชน์แก่ท่าน